วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20 .

                                             เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับ  เรื่อง  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ

- มองเด็กให้เป็นเด็ก

- สายตาครูระหว่างมองเด็ก

การฝึกเพิ่มเติม

- อบรมระยะสั้น , สัมมนา

- สื่อต่าง ๆ

การเข้าใจภาวะปกติ

- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง

- ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ

- รู้จักเด็กแต่ละคน

- มองเด็กให้เป็นเด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่าง

ของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก

- วุฒิภาวะ

- แรงจูงใจ

- โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ

- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม

- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากเท่านั้น

- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก

- ครูต้องมีความสนใจเด็ก

- ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก

- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก

- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้

อุปกรณ์

- มีลักษณะง่าย ๆ

- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ

- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน

- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ

- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอน

- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

- คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น

- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับตัวเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ

- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลอาชีพอื่น ๆ

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้

- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ

- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม (แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่)

- ความสนใจที่ผู้ใหญ่มีให้ต่อเด็กสำคัญมาก

- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ของเด็กและมักเป็นผลในทันที

- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจในพฤติกรรมที่ดีนั้น ๆ ก็จะลดลงและหายไป

วิธีการแสดงออกจากแรงเสริมของผู้ใหญ่

-ตอบสนองด้วยวาจา

- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก

- สัมผัสทางกาย

- ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริมกับเด็กปฐมวัย

- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์

- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท

- ย่อยเรื่อง

- ลำดับความยากง่ายของงาน

- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสำเร็จ

- การบอกบทจะค่อย ๆ น้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม

- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย

- วิเคราะห์กำหนดจุดประสงค์ย่อย ๆ ในงานแต่ละชิ้น

- สอนจากง่ายไปยาก

- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้

- ลดการบอกบท

- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด

การกำหนดเวลา

- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง

- พฤติกรรมทุกๆ  อย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อย ๆ หลาย ๆ

อย่างรวมกัน

- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

การลดหรือหยุดแรงเสริม

- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก

- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก

กิจกรรมในวันนี้คือ...............

  อาจารย์ให้วาดรูปมือของตนเองให้เหมือนมากที่สุด มืออีกข้างหนึ่งที่ถนัดอาจารย์

จะให้ใส่ถุงมือไว้ ส่วนมือที่ไม่ถนัดจะวาด


สรุปกิจกรรม

  เด็กเปรียบเสมือนมือข้างที่เราใส่ถุงมือ เวลาเรามองเด็กหรือจดบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก

ให้จดบันทึกตามความเป็นจริง อย่าเติมแต่งให้เด็ก

ประเมิน

ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน และจดบันทึก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนสนุก มีการยกตัวอย่างประกอบ

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

 
 
 
 
 
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น