วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

                                                                        บันทึกอนุทิน
        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                      วันที่ 22 เมษายน 2558 ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 .

                                             เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับวันนี้  เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น

- เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับการสอนการฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับความต้องการ

และความสามารถของเขา

- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรียนรู้

- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการประเมิน

การเขียนแผน IEP

- คัดแยกเด็กพิเศษ

- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร

- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะเริ่มต้นช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน

ในทักษะใด

- เด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP  ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

-การระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน

- เป้าระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของคน

- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน

- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต่อเนื่องอย่างเหมาะสม

- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย ๆ

ประโยชน์ต่อครู

- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก

- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก

- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อต้องการเปลี่ยนตามความต้องการ

- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก

- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการสอนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถ

สูงสุดได้ตามศักยภาพ

- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกสอนลูกของตนอย่างไร

- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด

ระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1 การเก็บรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ (บอกผลเข้าออกโรงพยาบาล)

- รายงานประเมินด้านต่าง ๆ

- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (บันทึกพฤติกรรมเด็กและนำมาเขียนแผน IEP)

2 การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง (ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง)

-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น

-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม

- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษารายบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย

- ระยะยาว (กำหนดให้กว้าง ๆ เข้าไว้แต่ชัดเจน)

- ระยะสั้น (ตั้งให้อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก)

จุดมุ่งหมายระยะยาว

กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง

-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้

- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น

- น้องริวเข้าร่วมกับเพื่อนคนอื่น ๆ ได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก

- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ใน 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์

จุดมุ่งหมายระยะสั้นต้องมี 4 หัวข้อ ดังนี้

- จะสอนใคร

- พฤติกรรมอะไร

- เมื่อไหร่ ที่ไหน

- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

การใช้แผน

- เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น

- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก

- จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์การจัดกิจกรรม

- ต้องมีการสังเกตและการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ

โดยคำนึงถึง

1 ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ

2 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก

3 อิทธิพลสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4 การประเมินผล

- โดยทั่วไปจะประเมินผลภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น

- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และวิธีการวัดผล

การจัดทำ IEP

- การเก็บรวบรวมข้อมูล

- การจัดทำแผน

- การใช้แผน

- การประเมิน

ประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจ มีการยกตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น