วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

                                                                        บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                      วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 ครั้งที่ 11เวลา 08.30-12.20 .

                                             เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย

อาจารย์นัดสอบร้องเพลง 5 คะแนน  ซึ่งดิฉันมีธุระกลับต่างจังหวัดเลยขออาจารย์

สอบก่อน ได้เพลง มาโรงเรียน  ร้องอยู่ประมาณ 3-4 รอบค่ะ ตื่นเต้นจำเนื้อร้องผิดๆ ถูกๆ

แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ อาจารย์สอนสนุก  เป็นกันเอง  ให้คำปรึกษาทุกเรื่อง สอนเนื้อหา

ที่เรียนได้ละเอียด มีตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น เรียนกับอาจารย์แล้ว

ไม่เครียดค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

                                                                        บันทึกอนุทิน
        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                      วันที่ 22 เมษายน 2558 ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 .

                                             เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับวันนี้  เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น

- เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับการสอนการฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับความต้องการ

และความสามารถของเขา

- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรียนรู้

- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการประเมิน

การเขียนแผน IEP

- คัดแยกเด็กพิเศษ

- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร

- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะเริ่มต้นช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน

ในทักษะใด

- เด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP  ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

-การระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน

- เป้าระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของคน

- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน

- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต่อเนื่องอย่างเหมาะสม

- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย ๆ

ประโยชน์ต่อครู

- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก

- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก

- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อต้องการเปลี่ยนตามความต้องการ

- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก

- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการสอนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถ

สูงสุดได้ตามศักยภาพ

- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกสอนลูกของตนอย่างไร

- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด

ระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1 การเก็บรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ (บอกผลเข้าออกโรงพยาบาล)

- รายงานประเมินด้านต่าง ๆ

- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (บันทึกพฤติกรรมเด็กและนำมาเขียนแผน IEP)

2 การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง (ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง)

-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น

-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม

- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษารายบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย

- ระยะยาว (กำหนดให้กว้าง ๆ เข้าไว้แต่ชัดเจน)

- ระยะสั้น (ตั้งให้อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก)

จุดมุ่งหมายระยะยาว

กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง

-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้

- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น

- น้องริวเข้าร่วมกับเพื่อนคนอื่น ๆ ได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก

- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ใน 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์

จุดมุ่งหมายระยะสั้นต้องมี 4 หัวข้อ ดังนี้

- จะสอนใคร

- พฤติกรรมอะไร

- เมื่อไหร่ ที่ไหน

- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

การใช้แผน

- เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น

- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก

- จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์การจัดกิจกรรม

- ต้องมีการสังเกตและการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ

โดยคำนึงถึง

1 ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ

2 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก

3 อิทธิพลสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4 การประเมินผล

- โดยทั่วไปจะประเมินผลภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น

- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และวิธีการวัดผล

การจัดทำ IEP

- การเก็บรวบรวมข้อมูล

- การจัดทำแผน

- การใช้แผน

- การประเมิน

ประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจ มีการยกตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

                                                                                    บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                      วันที่ 8 เมษายน 2558 ครั้งที่ 9 เวลา 08.30-12.20 .

                                             เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.
 
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ เรื่องการส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง

- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ

- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่

- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่

- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว

-  ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น

- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

- การกรอกน้ำ  การตวงน้ำ

- ต่อบล็อก

- ศิลปะ

- มุมบ้าน

- ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่

- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ

- จากการสนทนา

- เมื่อเช้าหนูทานอะไร

- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง

- จำตัวละครในนิทาน

- จำชื่อ ครู เพื่อน

ทักษะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

- สำรวจ

-สังเกต

- เปรียบเทียบ

- จำแนก

- อนุกรม

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- จัดกลุ่มเด็ก

- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้เวลาช่วงสั้น ๆ

- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

- ติดชื่อตามที่นั่ง

- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย

- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด

- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง

-พูดในทางที่ดี

- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว

กิจกรรมในวันนี้ร้องเพลง

- เพลงนกกระจิบ

- เพลงเที่ยวท้องนา

- เพลงแม่ไก่ออกไข่

- เพลงลูกแมวสิบตัว

- เพลงลุงมาชาวนา

ประเมิน

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา  จดบันทึกเนื้อหาที่เรียน

ประเมินเพื่อน : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมเนื้อหามาสอนล่วงหน้า  มีตัวอย่างอธิบายประกอบ

ทำให้เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

                                                                                   บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                               อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                    วันที่ 18 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 8 เวลา 08.30-12.20 .

                                         เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับวันนี้ เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

การสร้างความอิสระ

- เด็กอยากช่าวเหลือตนเอง

- อยากทำงานตามความสามารถ

- เด็กพิเศษเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

- การได้ทำด้วยตนเอง

- เชื่อมั่นในตนเอง

- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น

- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กมากเกินไป

- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กทำได้เอง

จะช่วยเมื่อไหร่

- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร  หงุดหงิด  เบื่อ

- หลายครั้งเด็กจะขอความเชื่อเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ

- แบ่งทักษะการช่วยเหลืออกเป็นขั้นย่อย ๆ

- เรียงลำดับตามขั้นตอน

สรุป

- ครูต้องพยายามให้เด็กทำในสิ่งที่ชอบ


- ย่อยงานแต่ละอย่างออกเป็นขั้น ๆ

- ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล

- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมที่ทำในวันนี้............

กิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจ

โดยอาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพวงกลมแล้วระบายสีตามใจชอบ แล้วนำไปติดหน้าห้อง

กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สวยงาม

 
 
 



ผลการจัดกิจกรรม

- เด็กได้สมาธิ

- การทำงานร่วมกับผู้อื่น

- สนุกสนานเพลิดเพลิน

- รู้จักคิดและวางแผน

ประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมมาให้ทำคลายเครียด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

                                                                                   บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                   วันที่ 11 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 7 เวลา 08.30-12.20 .

                                          เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

วันนี้อาจารย์ได้พูดถึง การสอบบรรจุว่ามีแนวการสอบเป็นอย่างไร

ความรู้ที่ได้รับ เรื่องการส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา

- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม

- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม

- ถามหาสิ่งต่าง ๆ ไหม

- บอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไหม

- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด

- การพูดตกหล่น

- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง

- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด

- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้า ๆ " "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"

- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด

- อย่าเปลี่ยนมือที่ใช้ข้างถนัดของเด็ก

- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น

- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา

- ทักษะการรับรู้ภาษา

- การแสดงออกทางภาษา

- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

การรับผิดชอบของครูปฐมวัย

- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา

- ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดมาก่อนภาษาพูด

- ให้เวลาเด็กได้พูด

- คอยให้เด็กตอบ

- เป็นผู้ฟังที่ดีและไม่โต้ตอบฉับไว

- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน

- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการ

- เน้นวิธีสื่อความหมายมากกว่าคำพูด

-ใช้คำถามปลายเปิด

- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

กิจกรรมที่ทำในวันนี้................

  วันนี้อาจารย์ให้จับคู่เหมือนเดิม  อาจารย์ให้หยิบสีที่ตนเองชอบ แล้วลากเส้น

ตามเสียงเพลง จากนั้นระบายสีภาพที่เป็นกรอบ



สรุปการทำกิจกรรม

- เด็กได้สามาธิ

- ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

- ผ่อนคลาย

- ฝึกคิด จินตนาการ

-พัฒนากล้ามเนื้อมือ

ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน  และจดบันทึก

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์มีความพร้อมในการสอน สอนเข้าใจ สนุก ไม่เครียด