วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันที่ 28 มกราคม 2558 ครั้งที่ 3 เวลา 08.30-12.20 .

เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียน

อาจารย์แจกกระดาษคนล่ะ 1 แผ่น โดยอาจารย์มีรูปมาให้ดูเป็นแบบ รูปนั่นก็คือ ดอกกุหลาบ
 
วาดให้เหมือนจริง เก็บรายละเอียดของกลีบ สีของดอกกุหลาบ พร้อมทั้งเขียนบรรยาย
 
ถึงดอกกุหลาบ

 
 

คำบรรยายของดิฉันเกี่ยวกับดอกกุหลาบ

เห็นดอกกุหลาบสีชมพูปนแดงมีสีขาวปะปลาย มีกลีบสลับซับซ้อน

วันนี้อาจารย์สอนหัวข้อเรื่อง บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

๐ ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

-                   พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา

-                   พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

-                   ครูควรพูดในด้านบวก

-                   ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรบ้าง

๐ ครูไม่ควรวินิจฉัย

-                   ครูไม่ควรไปวินิจฉัยเด็กว่าเด็กมีอาการอะไร

-                   จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่การเข้าใจผิด

๐ ครูทำอะไรบ้าง

-                   ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่าง ๆ

-                   ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการวินิจฉัย

-                   สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

-                   จดบันทึกพฤติกรรมเด็ก

 

๐ ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก

-                   อย่าตั้งฉายาให้เด็ก

-                   เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

-                   เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ          

๐ สังเกตอย่างมีระบบ

-                   ไม่มีใครสังเกตได้ดีกว่าครู

-                   ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า

๐ การตรวจสอบ

-                   จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

-                   เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

-                   บอกได้ว่าเรื่องใดที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

๐ ข้อควรระวังในการปฏิบัติ

-                   ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

-                   ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้

-                   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอ

-                   ลำดับความสำคัญให้เป็น

๐ การบันทึกการสังเกต

-                   การนับอย่างง่าย

-                   การบันทึกต่อเนื่อง

-                   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

 

การนับอย่างง่ายๆ

-                   นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม

-                   กี่ครั้งในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง

-                   ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง

-                   ให้รายละเอียดได้มาก

-                   เขียนทุกอย่างที่เด็กทำ

-                   โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

-                   บันทึกลงบัตรเล็กๆ

-                   เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป

-                   ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของข้อบกพร่อง

-                   พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ

-                   ครูต้องตัดสินด้วยความระมัดระวัง

-                   พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมร้องเพลง ฝึกกายบริหาร

เพลง ฝึกกายบริหาร

 ฝึกกายบิหารทุกวันร่างกายแข็งแรง

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง

รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

การนำความรู้ไปใช้

สามารถนำไปเป็นความรู้และนำไปปรับใช้ในห้องเรียน และนำเพลงที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ในการทำกิจกรรม

 
ประเมิน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเวลาอาจารย์สอน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน จดบันทึกในข้อที่ไม่เข้าใจ

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์สอนเข้าใจง่าย  มีตัวอย่างมาอธิบายประกอบ อาจารย์สอนสนุก


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น