วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 4 เวลา 08.30-12.20 .

เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.
 
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจาก อาจารย์ไปนิเทศพี่ปี 5
งานที่อาจารย์มอบหมายคือให้เคลียบล็อกในเรียบร้อยค่ะ
 
 

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันที่ 28 มกราคม 2558 ครั้งที่ 3 เวลา 08.30-12.20 .

เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียน

อาจารย์แจกกระดาษคนล่ะ 1 แผ่น โดยอาจารย์มีรูปมาให้ดูเป็นแบบ รูปนั่นก็คือ ดอกกุหลาบ
 
วาดให้เหมือนจริง เก็บรายละเอียดของกลีบ สีของดอกกุหลาบ พร้อมทั้งเขียนบรรยาย
 
ถึงดอกกุหลาบ

 
 

คำบรรยายของดิฉันเกี่ยวกับดอกกุหลาบ

เห็นดอกกุหลาบสีชมพูปนแดงมีสีขาวปะปลาย มีกลีบสลับซับซ้อน

วันนี้อาจารย์สอนหัวข้อเรื่อง บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

๐ ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

-                   พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา

-                   พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

-                   ครูควรพูดในด้านบวก

-                   ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรบ้าง

๐ ครูไม่ควรวินิจฉัย

-                   ครูไม่ควรไปวินิจฉัยเด็กว่าเด็กมีอาการอะไร

-                   จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่การเข้าใจผิด

๐ ครูทำอะไรบ้าง

-                   ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่าง ๆ

-                   ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการวินิจฉัย

-                   สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

-                   จดบันทึกพฤติกรรมเด็ก

 

๐ ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก

-                   อย่าตั้งฉายาให้เด็ก

-                   เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

-                   เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ          

๐ สังเกตอย่างมีระบบ

-                   ไม่มีใครสังเกตได้ดีกว่าครู

-                   ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า

๐ การตรวจสอบ

-                   จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

-                   เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

-                   บอกได้ว่าเรื่องใดที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

๐ ข้อควรระวังในการปฏิบัติ

-                   ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

-                   ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้

-                   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอ

-                   ลำดับความสำคัญให้เป็น

๐ การบันทึกการสังเกต

-                   การนับอย่างง่าย

-                   การบันทึกต่อเนื่อง

-                   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

 

การนับอย่างง่ายๆ

-                   นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม

-                   กี่ครั้งในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง

-                   ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง

-                   ให้รายละเอียดได้มาก

-                   เขียนทุกอย่างที่เด็กทำ

-                   โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

-                   บันทึกลงบัตรเล็กๆ

-                   เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป

-                   ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของข้อบกพร่อง

-                   พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ

-                   ครูต้องตัดสินด้วยความระมัดระวัง

-                   พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมร้องเพลง ฝึกกายบริหาร

เพลง ฝึกกายบริหาร

 ฝึกกายบิหารทุกวันร่างกายแข็งแรง

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง

รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

การนำความรู้ไปใช้

สามารถนำไปเป็นความรู้และนำไปปรับใช้ในห้องเรียน และนำเพลงที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ในการทำกิจกรรม

 
ประเมิน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเวลาอาจารย์สอน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน จดบันทึกในข้อที่ไม่เข้าใจ

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์สอนเข้าใจง่าย  มีตัวอย่างมาอธิบายประกอบ อาจารย์สอนสนุก


 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

                                                       วันที่ 21 มกราคม 2558 ครั้งที่ 2 เวลา 08.30-12.20 .            

เวลาเข้าสอน 08.30 . เวลาเข้าเรียน 08.30 . เวลาเลิกเรียน 12.20.

 

 วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา มีหัวข้อดังนี้

๐ การศึกษาปกติทั่วไป  ( Regular Education )

๐ การศึกษาพิเศษ ( Special Education )

๐ การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated  Education )

๐ การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education )

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม

-                   การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป

-                   มีกิจกรรมให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน

-                   ใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวัน

-                   ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา ( Integration)

-                   การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในเวลา อาจจะเข้าไปตอนทำกิจกรรม
 
 เช่น ดนตรี ศิลปะ เคลื่อนไหว

-                   เป็นเด็กพิเศษที่มีอาการระดับปานกลางถึงระดับมาก

การเรียนร่วมเต็มเวลา ( Mainstreaming )

-                   การจัดให้เด็กพิเศษเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน

-                   ได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้เหมือนเด็กปกติ

-                   เป็นเด็กพิเศษที่มีอาการระดับน้อย

-                   มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน  ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน
 
มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education )

-                   การศึกษาสำหรับทุกคน

-                   รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา

-                   เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติ

-                   เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาส

-                   เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และ
 
จะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม

-                   ทุกคนยอมรับว่ามีผู้พิการอยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

-                   ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้

-                   สอนได้

-                   เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
 
Wilson 2007
-                   การจัดการเรียนการสอนที่ยึดหลักปรัชญาของการอยู่รวมกัน
-                 การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-                   เด็กทุกคนเท่าเทียมกันมีสิทธิได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน
 
กิจกรรม

ร้องเพลงที่เหลือจากอาทิตย์ที่แล้ว 4 เพลง

 เพลงอาบน้ำ

อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา

ฟอกสบู่ถูตัว  ชำระเหงื่อไคล

ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว

อย่าให้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ

 

                                                                                  เพลงแปรงฟัน

ตื่นเช้าเราปรงฟัน

กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน

ก่อนนอนเราแปรงฟัน

ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม

แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

 
เพลง พี่น้อง

บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย

พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย 

มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย

ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน

 
เพลง มาโรงเรียน

เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน

ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ

เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ

ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน

การนำความรู้ไปใช้

สามารถนำไปเป็นความรู้และนำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนที่มีทั้งเด็กพิเศษ
และเด็กปกติ และนำเพลงปรับใช้ในการจัดกิจกรรม นำไปสอนเด็กร้องเพลงทำให้เกิด
ความผ่อนคลาย

ประเมิน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ มีการจดบันทึกเมื่ออาจารย์สอน

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึกเมื่ออาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา เตรียมตัวมาสอนก่อนล่วงหน้า มีตัวอย่างประกอบ
 
ทำให้เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น